Linux คืออะไร ?

วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

รู้จักกับลีนุกซ์
ลีนุกซ์ เป็นระบบปฏิบัติการเช่นเดียวกับ ดอส ไมโครซอฟต์วินโดวส์ หรือยูนิกซ์ โดยลีนุกซ์นั้นจัดว่าเป็นระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ประเภทหนึ่ง การที่ลีนุกซ์เป็นที่กล่าวขานกันมากขณะนี้ เนื่องจากความสามารถของตัวระบบปฏิบัติการและโปรแกรมประยุกต์ที่ทำงานบนระบบลีนุกซ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรแกรมในตระกูลของ GNU (GNU's Not UNIX) และสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือระบบลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการประเภทฟรีแวร์ (Free Ware) คือไม่เสียค่าใช้จ่ายในการซื้อโปรแกรม
ระบบลีนุกซ์ตั้งแต่เวอร์ชั่น 4 นั้น สามารถทำงานได้บนซีพียูทั้ง 3 ตระกูล คือบนซีพียูของอิลเทล (PC Intel) ดิจิตอลอัลฟาคอมพิวเตอร์ (Digital Alpha Computer) และซันสปาร์ค (SUN SPARC) เนื่องจากใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า RPM (Red Hat Package Management) ถึงแม้ว่าในขณะนี้ลีนุกซ์ยังไม่สามารถแทนที่ไมโครซอฟต์ วินโดวส์ บนพีซีหรือแมคโอเอส (Mac OS) ได้ทั้งหมดก็ตาม แต่ผู้ใช้จำนวนไม่น้อยที่หันมาใช้และช่วยพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนลีนุกซ์กัน และเรื่องของการดูแลระบบลีนุกซ์นั้น ภายในระบบลีนุกซ์เองมีเครื่องมือช่วยสำหรับดำเนินการให้สะดวกยิ่งขึ้น

การนำลีนุกซ์มาใช้งาน
ปัจจุบันได้มีการนำระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ไปประยุกต์เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับงานด้านต่างๆเช่นงานด้านการคำนวณทางวิทยาศาสตร์ใช้เป็นสถานีงาน สถานีบริการ อินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต หรือใช้ใน การเรียนการสอนและการทำงิจัยทางคอมพิวเตอร์ใช้พัฒนาโปรแกรมเนื่องจาก มีเครื่องมือมากมาย เช่น โปรแกรมภาษาซี (C) ซีพลัสพลัส (C++) ปาสคาล (Pascal) ฟอร์แทรน (Fortran) ลิสป์ (Lisp) โปรล็อก (Prolog) เอดา (ADA) มีภาษาสคริปต์ เช่น เชลล์ (Shell) บาสช์เชลล์ (Bash Shell) ซีเชลล์ (C Shell) คอร์นเชลล์ (Korn Shell) เพิร์ล (Perl) พายตัน (python) TCL/TK
นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมประยุกต์ในสาขาต่างๆ อีกมากมาย โดยข้อมูลของโปรแกรมเหล่านี้ได้รวบรวมไว้ที่ Linux Software Map (LSM)

อนาคตของลีนุกซ์
ลีนุกซ์นั้นมีนักพัฒนาโปรแกรมจากทั่วโลกช่วยกันทำให้การขยายตัวของลีนุกซ์เป็นไปอย่างรวดเร็วโดยในส่วนของแกนระบบปฏิบัติการ หรือเคอร์เนลนั้นจะมีการพัฒนาเป็นรุ่นที่ 2.2 (Linux Kernel 2.2) ซึ่งได้เพิ่มขีดความสามารถและสนับสนุนการทำงานแบบหลายตัวประมวลผลแบบ SMP (Symmetrical Multi Processors) ซึ่งทำให้ระบบลีนุกซ์สามารุนำไปใช้สำหรับทำงานเป็นเซิร์ฟเวอร์ขนาดใหญ่ได้ และยังมีโครงการสนับสนุนการใช้งานบรระบบลีนุกซ์อีกหลายโครงการ เช่น KDE (The K Desktop Environment) และ GNOME (GNU Network Object Model Environment) ซึ่งจะช่วยพัฒนา desktop บนลีนุกซ์ให้สมบูรณ์เทียบเท่ากับ Windows 98 ของไมโครซอฟท์ และบรรดาบริษัทผู้ผลิตซอฟท์แวร์ทางด้านระบบฐานข้อมูลชั้นนำ อย่างเช่น Informix, Oracle, IBM DB2 ก็เริ่มให้มีสนับสนุนการใช้งานบนระบบลีนุกซ์ แล้วเช่นเดียวกัน

เตรียมความพร้อมก่อนใช้ลีนุกซ์
ก่อนที่จะทำการติดตั้งก็ต้องเตรียมความพร้อมทางด้านอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ให้เป็นที่เรียบร้อยก่อน ระบบลีนุกซ์ต้องการฮาร์ดแวร์ที่มีคุณสมบัต ิขั้นต่ำสุดดังต่อไปนี้
1. หน่วยประมวลผลกลางของ Intel 80386 ขึ้นไป
2. หน่วยประมวลผลทางคณิตศาสตร์ มีหรือไม่มีก็ได้ เพราะระบบปฏิบัติการ Red Hat Linux ได้มีการจำลอง หน่วยประมวลผลทางคณิตศาสตร์ไว้ในระดับของเคอร์เนล (Kernel) แล้ว
3. หน่วยความจำอย่างน้อย 8 เมกะไบต์ แต่แนะนำให้มีอย่างน้อย 16 เมกะไบต์จะทำให้ระบบมีประสิทธิภาพที่ดีกว่า
4. ฮาร์ดดิสก์อย่างน้อย 101 เมกะไบต์ สำหรับการติดตั้งแบบพื้นฐาน 266 เมกะไบต์ สำหรับการติดตั้งแบบทั่วไป และ 716 เมกะไบต์ สำหรับการติดตั้งแบบทั้งหมดตัวเลขที่ระบุทั้งหมดเฉพาะส่วนระบบปฏิบัติการ ถ้าต้องการใช้เป็น File Server หรือ Database Server จะ ต้องเผื่อเนื้อที่ไว้สำหรับใช้งานด้วย ส่วนแหล่งของโปรแกรมลีนุกซ์นั้นสามารถหาได้ฟรีตามเว็บไซท์ เช่น www.linux.org/dist/ftp.html

สิ่งที่ควรทราบก่อนการติดตั้ง

1. คุณสมบัติของฮาร์ดดิสก็ที่ต้องการติดตั้ง
* จำนวนของฮาร์ดดิสก็ที่ต้องการติดตั้ง
* ขนาดความจุของฮาร์ดดิสก์ที่จะใช้ในการติดตั้ง
* ประเภทการเชื่อมต่อของฮาร์ดดิสก์ที่จะใช้ในการติดตั้ง IDE, EIDE หรือ SCSI
* มีการใช้ประเภทการเชื่อมต่อของฮาร์ดดิสก์หลายๆ ประเภทในเครื่องเดียวกันหรือไม่
2. ขนาดของหน่วยความจำหลัก เพื่อที่จะคำนวณหาขนาดของ Linux Swap Partition
3. ประเภทการเชื่อมต่อของเครื่องอ่านซีดีรอม IDE (ATAPI), SCSI
4. รุ่นและยี่ห้อของแผงวงจรเชื่อมต่อ SCSI
5. รุ่นและยี่ห้อของแผงวงจรเชื่อมต่อเครือข่าย
6. จำนวนปุ่มกด และประเภทเชื่อมต่อของเมาส์
7. รุ่นและยี่ห้อของแผงวงจรเชื่อมต่อจอภาพ รุ่นและยี่ห้อของจอภาพ
8. รายละเอียดการกำหนดโปรโตคอล TCP/IP ของเครื่องที่ต้องการติดตั้ง
* IP Address
* Net Mask
* GateWay Address
* Name Server Address
* Domain Name
* Host Name

0 ความคิดเห็น:

Design of Open Media | Source: Free Blogger Templates